6/24/2555

องค์ประกอบของการบริหาร (Management Component)


จากแนวความคิดการบริหารงานของนักวิชาการต่าง ๆ ที่ได้ในความหมายของการบริหารเอาไว้ ณรงค์  นันทวรรธนะ[1]ให้ความเห็นว่าการบริหารนั้นมีองค์ประกอบ  3  ประการ  คือ  
1.      เป้าหมาย (Goal)
2.      ปัจจัยการบริหาร (Factor of Management)  
3.      ลักษณะของการบริหาร  (Management  Style)  
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
1. เป้าหมาย (Goal) หรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนในการบริหารองค์กร ผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดทิศทางหรือวัตถุประสงค์ของการทำงานไว้ชัดเจน
2. ปัจจัยในการบริหาร (Factor of Management) โดยทั่วไปแล้วปัจจัยในการบริหารที่เป็นพื้นฐานมี 5 ประการ คือ
1.1 คน (Men) การบริหารกำลังคน จะใช้คนอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลกับงานให้มากที่สุด
1.2 เงิน (Money) การบริหารเงิน จะจัดสรรเงินอย่างไรให้ใช้จ่ายต้นทุนน้อยที่สุดและให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
1.3 วัสดุ (Material) การบริหารวัสดุในการดำเนินงาน ว่าจะทำอย่างไร้ให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด หรือเกิดประโยชน์สูงสุด
1.4 เทคนิควิธี (Method)จะใช้เทคนิควิธีการแบบใด ที่สามารถสนับสนุนให้การบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 เครื่องมือ(Machine)ในการบริหารงานจะใช้เครื่องมือ เครื่องจักรประเภทใด ขนาดใดหรือแบบใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารงาน

อย่างไรก็ตามปัจจัยพื้นฐานของการบริหาร 5 ประการที่กล่าวมานี้  อาจจะยังไม่เป็นการเพียงพอ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันกันรุนแรงทุกด้าน  
3.ลักษณะของการบริหาร(Management Style)การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และทั้งศิลป์ที่ผู้บริหารจะต้องนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กร จนมีคำกล่าวที่ว่าที่ใดมีผู้นำที่ดี  ที่นั่นก็จะมีความสำเร็จ”  


[1] ณรงค์ นันทวรรธนะ. 2536. การบริหารงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เช็นเตอร์พานิช.
��ชG _ � � �o (�* ��ยกแตกต่างกันไปตามยุคสมัย และเกิดจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ ปัจจัยภายนอก เช่น กระแสโลกหรืออิทธิพลของประเทศมหาอำนาจที่แพร่กระจายหรือส่งออกแนวทางหรือวิธีการบริหารงาน โดยส่วนหนึ่งเข้ามาทางวิชาการหรือตำราหนังสือที่นักวิชาการได้รับอิทธิพลหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนปัจจัยภายใน เช่น หัวหน้ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญหรือยึดถือแนวทางหรือวิธีการใด ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ในสมัยที่พลเอกเปรม                ติณสูลานนท์ ได้นำคำว่า "การพัฒนา" มาใช้กันอย่างแพร่หลาย  ขณะที่สมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นำคำว่า "การบริหารจัดการ" มาใช้
แนวทางหรือวิธีการบริหารงานที่หน่วยงานภาครัฐนำมาใช้นั้น มีวิวัฒนาการพอสรุปได้ว่า ก่อนที่จะใช้คำว่า การบริหารการพัฒนา (Development administration) มีคำหลายคำที่รัฐบาลได้นำมาใช้ เช่น
-           การบริหารราชการแผ่นดินหรือการบริหารภาครัฐ(Public administration)
-          การบริหาร (Administration)
-          การพัฒนา (Development)
-          การพัฒนาชุมชน (Community development)
-          การพัฒนาชนบท (Rural development)

จากนั้น จึงมาใช้คำว่า การบริหารการพัฒนา (Development administration) และยังใช้คำอื่น  เป็นต้นว่า  
-          การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable development)
-          การพัฒนาแบบพอเพียง (Sufficient development)
-          การพัฒนาแนวพุทธ (Buddhistic development)
-          การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good governance)
-          การจัดการ (Management)
-          การบริหารและการจัดการ (Administration and management)

ในบางรัฐบาล ใช้คำว่า “การบริหารจัดการ” (Management Administration) มาใช้อย่างแพร่หลาย และในอนาคต อาจเกิดคำว่า การบริหารการบริการ (Service Administration) ขึ้นมาอีก
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้มีความเห็นว่า ไทยได้ผ่านพ้นสภาพที่เป็นประเทศด้อยพัฒนาหรือประเทศกำลังพัฒนามาแล้ว และกำลังจะก้าวไปสู่สภาพของประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่มีเทคโนโลยีสูงก็ตาม แต่แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา ยังไม่หมดสิ้นไปได้ เพราะในสภาพความเป็นจริง ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยยังคงมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาตราบใดที่การพัฒนายังมีความหมายครอบคลุมถึงการเปลี่ยนไปสู่สภาพที่ดีขึ้น (Change for the better) ด้วย
อาจกล่าวได้ว่า แนวคิดหรือลักษณะสำคัญของแนวทางหรือวิธีการบริหารใด ๆ ก็ตาม ซึ่งรวมทั้งการบริหารการพัฒนา ไม่อาจกำหนดได้อย่างชัดเจนและตายตัวเหมือนกับการให้ความหมายของคำทั้งหลายในทางสังคมศาสตร์ที่ขึ้นอยู่กับความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของนักปรัชญา
ผู้รู้ นักวิชาการ นักกฎหมาย และนักบริหาร แต่ละคน อย่างไรก็ดี การบริหารการพัฒนามีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ดังจะได้กล่าวต่อไป โดยอาจเรียกว่า การบริหารจัดการ หรือการบริหาร และในอนาคตอาจเรียกเป็นอย่างอื่นได้ แนวคิดบริหารการพัฒนานั้น แพร่หลายอย่างมากในประเทศกำลังพัฒนา  ซึ่งรวมทั้งในเอเชีย สำหรับประเทศไทยได้นำแนวคิดนี้มาปรับใช้อย่างแพร่หลายในช่วงที่เน้นการพัฒนาประเทศและการพัฒนาชนบท บทความนี้แบ่งการนำเสนอเป็น 2 ส่วน ได้แก่ แนวคิดและความหมาย รวมทั้งความสำคัญของการบริหารการพัฒนา


[1] วิวัฒนาการทางการบริหาร, http://www.oknation.net/blog/pttpoy/2008/12/22/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โปรดระบุชื่อ สกุล และ e-mail