6/24/2555

หลักการของการบริหาร

การจำแนกหน้าที่การบริหารของผู้บริหารนั้น  ได้มีนักวิชาการจำแนกเอาไว้หลายท่าน ที่น่าสนใจ  ดังนี้ ลูเธอร์  กูลวิลด์ [1](Luther Gulick) ได้จำแนกหน้าที่ของการบริหารเอาไว้ 7 ประการ ที่เรียกว่าเป็นแบบการบริหาร คือ “POSDCORB  MODELS” ซึ่งประกอบด้วย ดังนี้

คำเต็ม
คำย่อ
ความหมาย
Planning
P
การวางแผน
Organizing
O
การจัดองค์การ
Staffing
S
การจัดคนเข้าทำงาน
Directing
D
การสั่งการ
Co-ordination
Co
การประสานงาน
Reporting
R
การรายงาน
Budgeting
B
การจัดทำงบประมาณ

ตารางแสดง “หลักการบริหารแบบ “POSDCORB  MODELS” โดย Luther  Gulick

ซึ่งในการบริหารงาน ที่มีเป้าประสงค์เพื่อให้เกิดการพัฒนานั้น  สามารถพิจารณาได้นับตั้งแต่ กระบวนการนำเข้า อันได้แก่ การจัดการ  การสรรหาคน   การจัดการเกี่ยวกับงบประมาณ   รวมถึงการบริหารจัดการด้านวัสดุ เพื่อให้เกิดกระบวนการ


เฮนรี่  ฟาโย (Henri  Fayol) วิศวกรชาวฝรั่งเศส เกิดในปี  ค.ศ. 1841 ในระหว่างเป็น ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของ บริษัทเหมืองแร่แห่งหนึ่งในปี ค.ศ.1888-1918 ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก คือ General And Industrial Management เป็นหนังสือหลักบริหาร 
ซึ่งในหนังสือนั้นได้จำแนกหน้าที่ของนักบริหารเอาไว้ 5 ประการ หรือที่เรียกว่าหลักการบริหารแบบ POCCC ดังนี้

คำเต็ม
คำย่อ
ความหมาย
Planning
P
การวางแผน
Organizing
O
การจัดองค์การ
Commanding
C
การบังคับบัญชา
Co-ordinating      
C
การประสานงาน
Controlling
C
การควบคุม

ตารางแสดง“หลักการบริหารแบบ POCCC โดย Henri Fayol

เออเนสย์  เดลล์ (Ernest Dale) ได้จำแนกหน้าที่ของผู้บริหารเอาไว้ 7 ประการและการบริหารตามแนวคิดของDale นั้นนิยมนำไปบริหารวงการธุรกิจ (Business  Administration) เป็นอย่างมากการบริหารของDaleนั้นใช้หลักการบริหาร POSDCIR ดังนี้

คำเต็ม
คำย่อ
ความหมาย
Planning 
P
การวางแผน
Organizing 
O
การจัดองค์การ
Staffing  
S
การจัดคนเข้าทำงาน
Directing               
D
การสั่งการ
Controlling 
C
การควบคุม
Innovation 
I
การสร้างสรรค์สิ่งใหม่
Representation
R
การเป็นตัวแทน

ตารางแสดง  “หลักการบริหารแบบ POSDCIR  โดย Ernest  Dale

ฮาลอร์ด ดี. คูลย์  (Haroled  D.Knootz)  ได้จำแนกหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติของนักบริหาร เอาไว้เป็นกระบวนการ  ดังนี้ (อ้างจาก พรรณี  ประเสริฐวงษ์  และวีรนารถ  มานะกิจ, 2533 : 4)
         1.  การวางแผน (Planning)
                  2.  การจัดองค์การ (Organizing)
                  3.  การรับคนเข้าทำงาน (Staffing)
                  4.  การสั่งการ (Directing)
                  5.  การควบคุม (Controlling) 


[1] อ้างใน,นพพงษ บุญจิตราดุล,2534, หลักการบริหารการศึกษา,สำนักพิมพ์บริษัทบพิชการการพิมพ์ (หน3-4,39-41)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โปรดระบุชื่อ สกุล และ e-mail